วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551

อัตราการเพิ่ม : ลดลงของทรัพยากร

อัตราการเพิ่ม
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 16 จำนวนประชากรโลกมีเพียงแค่ร้อยล้านคนและเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ กระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เพิ่มเป็น 600 ล้านคน และภายในเวลาเพียง 130 ปี ก็เพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็น 2,000 ล้านคน และหลังจากนั้นอีกเพียง 70 ปี ก็เพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านคน การเพิ่มของประชากร จึงคล้ายระเบิดแตก มิใช่แบบทวีคูณ

นอกจากนี้ เรายังมีความเข้าใจผิด ในเรื่องเกี่ยวกับอัตราการเพิ่มของประชากร คือ
1.การเพิ่มเป็นไปอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ
2.การเกิดเหตุการณ์พิเศษ เช่น สงครามโลกหรือโรคระบาดจะทำให้จำนวนประชากรลดลง
3.การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากสุขภาพที่ดีขึ้น แต่ความจริงก็คือ

การคาดการณ์จำนวนประชากรโลกในอนาคตไว้ 3 ระดับ คือ
1.ระดับต่ำ ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.35 พันล้านคนในปี 2606 และจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 8 พันล้านคนในศตวรรษต่อไป
2.ระดับกลาง ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1 หมื่นล้านคนในปี 2602 และจะขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 10.48 พันล้าน ในปี 2625 และค่อยๆ ลดลงเหลือ 10.3 พันล้านเมื่อสิ้นคริสต์ ศตวรรษที่ 22
3.ระดับสูง ประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นเกิน 1 หมื่นล้านคน ในปี 2600 และเพิ่มขึ้นถึง 1.2 หมื่นล้านคน ในปี 2638 โดยประชากรส่วนใหญ่ของโลกถึงกว่า 3 ใน 4 อาศัยอยู่ในเพียง 2 ทวีป คือ เอเชียและแอฟริกา ระหว่างปี 2545-2593 นั้นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น 1 ใน 3 จะอยู่ในแอฟริกาและครึ่งหนึ่งจะอยู่ในเอเชีย แต่ละปีจำนวนประชากรของเอเชียและแอฟริกาเพิ่มขึ้น 49 และ 20 ล้านคนตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรชาวยุโรปลดลงปีละ 0.7 ล้านคน


ลดลงของทรัพยากร
จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นเป็นเงา ตามตัวเพื่อผลิตสิ่งต่างๆ สำหรับสนองความต้องการ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจยังผลให้เกิดภาวะขาดแคลน เช่น ในด้านของทรัพยากรดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับผลิตอาหารและการเพาะปลูกพืชอื่นๆ แม้ว่าโลกจะมีพื้นที่มากมาย แต่ก็อาจไม่เพียงพอเพราะปัจจัยหลายอย่าง โดยทั่วไปความเพียงพอของพื้นที่เพาะปลูกขึ้นอยู่กับ

1.ส่วนประกอบของอาหาร ที่รับประทาน
2.ความสามารถในการผลิตของดิน
3.ปริมาณน้ำที่สามารถหาได้
4.การใช้สารเคมีในการเพาะปลูก โลกมีทรัพยากรดินสำหรับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และเป็นผืนป่าเท่ากับ หรือร้อยละ 68 ของพื้นที่ทั้งหมดบนผืนโลก

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คาดอีก 4 ปีพลเมืองโลก 7,000 ล้านคน


หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐระบุ ภายใน 4 ปีข้างหน้าประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านคน และภายในปี 2593 อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีน เพราะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีความเจริญทางการแพทย์และโภชนาการมากขึ้น


โดย สำนักสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐประเมินว่า จำนวนประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านคน ภายในปี 2555 เนื่องจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และโภชนาการสูงขึ้น และจำนวนประชากรโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านคนดังกล่าว เปรียบเทียบกับจำนวน 6,000 ล้านคน เมื่อปี 2542 และว่าภายในปี 2593 อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีน


อย่างไรก็ตาม สำนักสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐระบุว่า จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 นี้ เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 50 ระหว่างปี 2542-2583 จากที่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 100 จาก 3,000 ล้านคนเมื่อปี 2502 เป็น 6,000 ล้านคนเมื่อปี 2542 และจะเป็น 9,000 ล้านคนในปี 2583


นอกจากนี้ ยังมีการคาดหมายว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปีภายในปี 2593 จากอัตราราวร้อยละ 1.2 ต่อปีในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำหรับในปัจจุบัน จีนยังคงครองแชมป์ประชากรมากที่สุดในโลก โดยจีนมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,320 ล้านคน รองลงมาเป็นอินเดีย มีประชากร 1,130 ล้านคน อันดับ 3 ได้แก่สหรัฐ มีประชากร 304 ล้านคน อันดับ 4 อินโดนีเซีย มีประชากร 232 ล้านคน และบราซิลอันดับ 5 มีประชากร 187 ล้านคน ขณะที่ญี่ปุ่นมีประชากร 128 ล้านคน ฟิลิปปินส์ 89 ล้านคนและเวียดนาม 84 ล้านคน

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การงดใช้พลังงาน

Calendar : Diary
ในสายตาของมนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเรา เมื่อเราเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า จะรู้สึกว่าชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกของเรา และสามารถป้องกันตัวเราให้เป็นอย่างดี แต่โลกแห่งความจริงในปัจจุบัน
ความหนาของบรรยากาศเหลือเพียงน้อยนิด
และคำตอบง่ายๆ ที่เป็นสาเหตุ ซึ่งทุกคนทั่วโลกได้เห็นแล้วก็คือ ปัญหาสภาวะโลกร้อน ที่เกิด
จากการพัฒนาที่เกินความพอเพียง นั่นเป็นเพราะการที่เราใช้พลังงานมากเกินไป ทำให้มีการปล่อย กีาซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศบางๆ จึงเกิดสภาวะเรือนกระจก
โดยความร้อนที่เกิดจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากขึ้นส่งผลให้สภาพดินฟ้าอากาศของโลก
เปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป
สภาวะโลกร้อนดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่การแก้ปัญหาก็สามารถทำได้ถ้าทุกคนมีส่วนร่วม
เพื่อช่วยเหลือส่วนรวมในสังคม แต่อุปสรรคอยู่ที่ว่าเราต้องต่อสู้เอาชนะกับความเคยชินของเราเท่านั้นเอง
เรื่องเหล่านี้จึงเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจ คือ ปฏิทิน การที่จะทำปฏิทินย้อนหลังนั้นมัน
ยาก “ผมจึงเลือก ทำบางอย่างที่เหมาะสม แต่ยังเกี่ยวกับเรื่องของปฏิทิน โดยเลือกที่จะทำ
Diary ที่ปลูกจิตสำนึก


เอาเป็นว่าองค์ประกอบของปฏิทินองประกอบของมันก็มีให้เห็น คาตาอยู่แล้ว


ว่ากำหนดวันต่างๆ ในรอบ1เดือนก็จะเห็นได้ว่าปฏิทิน มีการบ่งบอกวันพิเศษวันหยุดเสาร์อาทิตย์ บอกวันหยุดราชการ แล้วถ้าอันไหนที่ดูเป็น Inter หน่อยก็บอกถึงวันที่ หรือวันที่พิเศษของต่างปรัเทศด้วย



องค์ประกอบของ Diary ก็จะมี

ปฏิทิน ในเดือนนั้น ข้างขึ้นข้างแรมเวลาในแต่ละวันเพื่อจดบันทึกใน Diary

บ่งบอกปี

เริ่มตั้งแต่เวลา 7.00___8.00___ 9.00___10.00___11.00___12.00............ไปจนถึงเวลา18.00น.

สรุป ทั้ง 2 อย่างที่องค์ประกอบที่เหมือนกัน แต่ที่แตกต่างกันคือ Diary เพราะว่าจะเพิ่มเวลา ตารางในการจดบันทึกในแต่ละวันเข้าไปนั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

calendar

กลับมาลุยกันอีกครั้ง คราวนี้เป็น Com.Design5

มาดูรอบๆตัวกันว่าอะไรที่มันใช้แล้วมันยังไม่คุ้มค่า แล้วสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุก็ลองมองไปรอบๆตัว มันมีมากมายซะเหลือเกิน เต็มไปหมด ไม่รู้จะเลือกเอาชิ้นไหนดีว่าที่คนมองข้าม และในที่สุดก็ไปเจอของชิ้นนี้ซึ่งมันอยู่กับเราทุกวันอยู่ตลอดเวลา นั่นคือ ปฏิทิน(calender) ครับ



ลองมาดูประโยชน์ของมันว่ามีอะไรบ้างครับ

-แน่นอนครับไว้ดูวันเดือนปี

-หาวันพิเศษสำหรับใครบางคน

-บอกวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ หรือ เสาร์/อาทิตย์

-บอกวันและเดือนของปีนั้นๆ

-สามารถกำหนดวันนัดหมายล่วงหน้าได้

เห็นแล้วมันช่างมีประโยชน์มากมายขนาดไหนครับ และยังมีรูปแบบของปฎิทินที่หลากหลายสามารถพกติดตัวได้ในรูปแบบการ์ดก็มี

แต่ลองมองในมุมมืดของมันดูบ้างครับ

เมื่อหมดปีต่อปีมันจะหมดอายุการใช้งานทันที ไม่สารถนำมันมาติดตัวข้ามปีได้เพราะเราจะต้องมองหาปฏิทินของปีใหม่นี้โดยธรรมชาติ มันจะแปลสภาพเป็นขยะทันที และยังมีปฏิทินที่มีลักษณะต่างกันไป ยกตัวอย่าง ปฏิทินของจีนที่การใช้สอยออกแบบมาให้มีลักษณะใช้งานโดยการฉีกเมื่อวันต่อวัน สิ้นเปลืองกระดาษมาก ลองนึกย้อนหลังไป 10 ปี ครับ ว่าขยะจากปฏิทินจะมากขนาดไหนแล้วจะเป็นยังไงในอีก 10 ปีข้างหน้า

สุดท้ายครับ

จริงๆแล้วเรื่องของปฏิทินมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆเลยครับ แต่เราไม่เคยหันกลับมามองมันเลยว่า จริงแล้วก็เป็นเรื่องใหญ่อยู่เหมือนกัน

โครงการครั้งนี้ผม ก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นยังไงต่อไป แต่ก็จะทำอะไรที่เป็นประโยชน์แน่นอนครับ