วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Ecological Footprint

โดยทั่วไปประเทศร่ำรวยมักสร้างรอยเท้า มากกว่าประเทศยากจน ซึ่งเท่ากับพวกเขาขาดแคลนทรัพยากร พวกเขาจึงจำเป็นต้องหยิบยืมจากประเทศที่สามารถผลิตได้มากกว่าบริโภค แต่การหยิบยืมจะต้องไม่มากเกินกว่าความสามารถของโลกโดยรวมที่จะรองรับรอยเท้าทางนิเวศ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง ประชากรที่กำลังเพิ่มขึ้นและทรัพยากรที่โดนใช้ไปและสร้างขึ้นมาโดยไม่เพียงพอที่ไม่สมกับความต้องการของมนุษย์

การคำนวณจำนวนประชากรจากมุมมองของการใช้ทรัพยากรหรือการสร้างรอยเท้าทางนิเวศ จะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าแม้ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่าและอัตราการเพิ่มประชากรสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว แต่ยังคงมีจำนวนรอยเท้าน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้เพราะประชากรของประเทศกำลังพัฒนามีวิถีชีวิตที่ง่ายกว่าจึงสร้างรอยเท้าน้อยกว่า


























วิธีการเช่นนี้เป็นวิธีการเพื่อรักษาสมดุลของทรัพยากร ทางธรรมชาติเพื่อ หรือชะลอการหมดไปอย่างรวดเร็วของทรัพยากรบนโลก


Ecological Footprint


กระบวนการของมันประกอบไปด้วย การเชื่อมโยงระหว่างการค้า การส่งออกเพื่อกระจายทรัพยากรไปสู่ประเทศที่พัตนาเป็นหลัก ไม่ได้หมายความว่าทรัพยากรจากประเทศที่ กำลังพัฒนา จะไม่ได้ทรัพยากรจากประเทศที่ด้อยพัฒนา คือมีเข้ามาแต่ไม่มากเท่า

ประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็น แกนสำคัญ ในกระบวนการนี้ Ecological Footprintหรือ การสร้างรอยเท้า

อัตราการเพิ่มของประชากร : ลดลงของทรัพยากร

ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 16 จำนวนประชากร โลกมีเพียงแค่ร้อยล้านคนและเพิ่มขึ้นอย่างช้า
กระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เพิ่มเป็น 600 ล้านคนและภายในเวลาเพียง 130 ปี
ก็เพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็น 2,000 ล้านคน และหลังจากนั้นอีกเพียง 70 ปี ก็เพิ่มขึ้นเป็น 6,000
ล้านคน การเพิ่มของประชากร จึงคล้ายระเบิดแตก มิใช่แบบทวีคูณ

นอกจากนี้ เรายังมีความเข้าใจผิด ในเรื่องเกี่ยวกับอัตราการเพิ่มของประชากร คือ
1.การเพิ่มเป็นไปอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ
2.การเกิดเหตุการณ์พิเศษ เช่น สงครามโลกหรือโรคระบาดจะทำให้จำนวนประชากรลดลง
3.การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากสุขภาพที่ดีขึ้น

การคาดการณ์จำนวนประชากรโลกในอนาคตไว้ 3 ระดับ คือ
1.ระดับต่ำ ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.35 พันล้านคนในปี 2606 และจะค่อยๆ
ลดลงเหลือ 8 พันล้านคนในศตวรรษต่อไป
2.ระดับกลาง ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1 หมื่นล้านคนในปี 2602
และจะขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 10.48 พันล้าน ในปี 2625 และค่อยๆ ลดลงเหลือ 10.3
พันล้านเมื่อสิ้นคริสต์ ศตวรรษที่ 22
3.ระดับสูง ประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นเกิน 1 หมื่นล้านคน ในปี 2600 และเพิ่มขึ้นถึง 1.2
หมื่นล้านคน ในปี 2638 โดยประชากรส่วนใหญ่ของโลกถึงกว่า 3 ใน 4 อาศัยอยู่ในเพียง
2 ทวีป คือ เอเชียและแอฟริกา ระหว่างปี 2545-2593 นั้นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น 1
ใน 3 จะอยู่ในแอฟริกาและครึ่งหนึ่งจะอยู่ในเอเชีย แต่ละปีจำนวนประชากรของเอเชียแ
ละแอฟริกาเพิ่มขึ้น 49 และ 20 ล้านคนตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรชาวยุโรปลดลง
ปีละ 0.7 ล้านคน


จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
เพื่อผลิตสิ่งต่างๆ สำหรับสนองความต้องการ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจยังผลให้เกิด
ภาวะขาดแคลน เช่น ในด้านของทรัพยากรดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับผลิตอาหารและ
การเพาะปลูกพืชอื่นๆ แม้ว่าโลกจะมีพื้นที่มากมาย แต่ก็อาจไม่เพียงพอเพราะปัจจัยหลาย
อย่าง โดยทั่วไปความเพียงพอของพื้นที่เพาะปลูกขึ้นอยู่กับ
1.ส่วนประกอบของอาหาร ที่รับประทาน
2.ความสามารถในการผลิตของดิน
3.ปริมาณน้ำที่สามารถหาได้ และ
4.การใช้สารเคมีในการเพาะปลูก


โลกมีทรัพยากรดินสำหรับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และเป็นผืนป่าเท่ากับ ร้อยละ 68
ของพื้นที่ทั้งหมดบนผืนโลก

อย่างไรก็ดีมนุษย์เราไม่สามารถที่จะ นำพื้นที่ทั้งหมดบนโลกมาใช้ได้ ในปัจจุบันโลกจึงมี
พื้นที่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูประชากรได้เพียง 3 พันล้านคนเท่านั้น หากทุกคนใช้ทรัพยกร
เช่นเดียวกับประชากรในประเทศอุตสาหกรรมในปัจจุบัน จำนวนประชากรอาจเพิ่มขึ้น
เป็น 7.5 พันล้านคนได้ หากทุกคนใช้ทรัพยากรในระดับของประเทศที่มีประชากรบริโภค
อาหารง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจำพวกมังสวิรัติ แต่อาจเพิ่ม เป็น 2 หมื่นล้านคนได้หากทุก
คนใช้ทรัพยากรเพียงจำกัด หรือเท่าๆ กับประชากรของโลกที่ยากจนในขณะนี้
ประเทศที่เริ่มมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงประชากร ต่อคนในขณะนี้ คือ
อิสราเอล บังกลาเทศ สาธารณรัฐคองโก สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ จอร์แดน อียิปต์
เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน บรูไน คูเวต และสิงคโปร์

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การใช้ชีวิต

เมื่อในโลกเกิดเหตุการที่ทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายและเป็นอยู่ของมนุษย์
เราจะทำอย่างไรที่เราจะเป็นอยู่และใช้จ่ายได้เหมือนแต่ก่อน "แม๋ มันช่างยากเย็นจริงๆ

ทุกวันของเราจับจ่ายใช้สอยอย่างปกติ แต่ในเมื่อของใช้ต่างๆ เริ่ม มีการปรับราคาสูงขึ้น
เราจะทำอย่างในในการ เก็บเงิน เพื่อใช้ในยามจำเป็น น่าจะมีอะไรบางอย่างที่ช่วยกระตุ้น
ในการเก็บเพื่อใช้จ่ายให้มากขึ้น หรือช่วยในการ แบ่งสัดส่น ของเงินไปใช้จ่ายในวันต่อๆไป
โดยไม่ต้องกังวล กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายในวันข้างหน้า ว่าเราจะเหลือใช้หรือเปล่า

แนวคิด

1.เริ่มจาการ ตัดบางส่วนของการใช้ในวันนี้ออกไปโดยไม่จำเป็น หรือใช้ให้น้อยลง

2.นำส่วนที่เหลือใช้ไปใช้ได้ในอาทิตหน้า ในวันเดียวกัน โดยใช้แบบสัดส่วนเดิม

3.ทำเหมือนข้อ 1 กับข้อ 2

นี่เป็นแนวคิดแรก ในการออกแบบของสิ่งนั้น

ในการตัดของบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปใช้นั้นเหมือนกับว่าการงดใช้พลังงานออกไปด้วย
"ผมคิดว่าถ้าเราแบ่งสัดส่วนในวันที่ใช้จ่ายออกไป เราก็สามารถมีใช้ได้ ในเวลาที่เราคับขัน"