วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2551

การให้ความสำคัญ


จากที่พูดไปคับ เปรียบกับบ้าน Macro คือ บ้าน / Micro คือตัวเรา

แต่ถ้าเป็นเรื่องของ สถานะ กับตัวเรากับบ้าน เราก็จะเป็นMacro บ้าน คือ micro ของเรา

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ อัตวิสัย และ ภววิสัย
อัตวิสัย คือ อาศัยทัศนของตัวเอง เอาความรู้สึก แนวความคิด ของตนเป็นที่ตั้ง
ภววิสัย คือ สภาวะที่เกิดขึ้น
จากเรื่องที่ยกตัวอย่างไป ทำให้รู้ว่า มันอยู่ที่คนมองว่า "จะให้ความสำคัญตรงไหนมากกว่ากัน"
มากกว่า

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

Macro and Micro

สุดไปเลยครับรอบนี้
Macro คือ จุดใหญ่
ถ้าจะลงลึกถึงความหมายก็คือ การบังคับ Unit ในขณะที่ Unit มีจำนวนมาก เป็นกลุ่มใหญ่ๆ บังคับและควบคุมแบบไม่ต้องละเอียดมากนัก มีหน้าที่คุมส่วนที่ใหญ่จิงๆ

Micro คือ จุดเล็ก
มันหมายถึง การบังคับหรือควบคุม Unit ในขณะที่ Unit มีจำนวนไม่มากนัก เป็นกลุ่มเล็กๆ บังคับควบคุมแบบละเอียด ทีละตัว

"สรุปเมื่อวิเคราะมันร่วมกันแล้วจะเห็นได้เลยว่า Macro จะเป็นตัวที่มีหน้าที่ควบคุม Micro อีกที แต่ไม่ได้หมายความว่าจะคุมไปทั้งหมด เพราะว่าตัวที่คอยคุมอย่างละเอียดคือ Micro"
-เลยคิดเล่นๆได้ว่าต้องเป็นระบบอะไรอย่าง ที่ต้องขาดกันไปไม่ได้ เมื่อมี Micro ก็มี Macro เพื่อคุมเป็นระบบใหญ่
-แต่ถ้ามี Macro ยังไงก็จะเกิด Micro ตามมา
ก็ลองมาเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นตือ ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

พล.ต.อ. POLICE GENERAL ( POL.GEN.)
พล.ต.ท. POLICE LTEUTENANT GENERAL (POL.LT.GEN.)
พล.ต.ต. POLICE MAJOR GENERAL (POL.MAJ.GEN.)
พ.ต.อ. POLICE COLONEL (POL.COL.)
พ.ต.ท. POLICE LIEUT ENANT COLONEL. (POL.LT.COL.)
พ.ต.ต. POLICE MAJOR (POL.MJ.)
ร.ต.อ. POLICE CAPTAIN (POL.CAPT.)
ร.ต.ท. POLICE LIEUTENANT (POL.LT.)
ร.ต.ต. POLICE SUB-TEUTENANT (POL.SUB.LT.)
ด.ต. POLICE SENIOR SERGENANT MAJOR (POL.SEN.SGT.MAJ.)
จ.ส.ต. POLICE SERGEANT MAJOR (POL.SGT.)
ส.ต.อ. POLICE SERGEANT (POL.SGT.)
ส.ต.ท. POLICE LANCE COPORAL (POL.L/C)
ส.ต.ต. POLICE CONSTABLE (POL.CONST.)
เนี่ยแหละคับน่าจะเข้าใจ แต่จะทำอะไร ยังไง ก็ต้องคิดกันต่อไปคับ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

การ "Random"

Random หรือ การสุ่ม คือ การเลือก "ผลลัพธ์" จาก "จำนวนจำนวนหนึ่งที่กำหนดไว้" ขึ้นมา โดย "สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป" จะเป็นตัวก่อผลกระทบ เพื่อให้ "ผลลัพธ์" ไม่สามารถคัดการณ์ได้

"สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป" ผมหมายถึง อะไรก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เราทำ "การสุ่ม" อยู่ คือ "สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป" ทั้งหมด และที่เห็นได้ชัดๆคือ "เวลา" เพราะมันไม่เคยหยุดนิ่ง(แม้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างคงที่)

"การสุ่ม" ในความคิดของผม จึงหมายความว่า การต้องค่าที่ไม่สามารถคาดเดาได้
แต่ถ้าเราทราบ "สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป" เราก็สามารถคาดการณ์ "การสุ่ม" นั้นได้ ซึ่งถึงตอนนั้นเราคงจะไม่เรียกว่า "การสุ่ม" แล้วหละครับผมว่า
ผมไม่รู้ว่าคำสั่ง random ในแต่ละโปรแกรมนั้นใช้พื้นฐานอะไร แต่คงต้องเกี่ยวกับ "สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป" อย่างจงใจ ไม่งั้นมันคงไม่เรียก random จริงไหมครับ
"ถ้าลองเปรียบเทียบกับการ "สุ่ม" ต่างๆ ในเกมล่ะ? มันเป็นเพียงสิ่งที่คาดการไม่ได้และเปลี่ยนแปลงอยู่เท่านั้นเองหรือ?"
ผมว่าการสุ่มนั้น คาดการณ์ได้และมีเหตุผลนะครับ เพราะมันอยู่ในขอบเขตที่เรา รับรู้ ควบคุม หรือทำการวัดได้ คือถ้าเราสามารถตรวจสอบวิธีการทำงานของเกม หาการอ้างอิงที่เกมใช้เป็นการสุ่ม(คือการหา "สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป") เราก็สามารถคาดการณ์ได้
ซึ่งเกมคงไม่เปิดโอกาสให้กับผู้เล่นมากนักที่จะให้คาดการณ์ ไม่งั้นคงหมดสนุกแน่
แต่ในสุ่มที่ ยกตัวอย่างอีกกรณีนั้น (เช่นโยนลูกเต๋า ทุบกระจก) สิ่งที่เป็น "สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป" ไม่ได้มีแค่ 1 หรือ 2 อย่าง แต่มีนับไม่ถ้วน (เพราะเรายังไม่รู้อะไรอีกมากนักที่ก่อผลกระทบ) มันจึงไม่มีทางเลยที่จะออกมาตรงทุกครั้ง ต่อให้ลูกเต๋าออกเลขเหมือน แต่มุมที่ตกกระทบแต่ครั้งก็คงไม่มีทางเหมือนกัน
ซึ่งผมคิดเล่นๆนะครับว่า ถ้าต่อไปเราสามารถรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ เราคงคาดการณ์อนาคตได้ และ "การสุ่ม" ก็จะถูกใช้ในกรณีที่เราไม่ต้องการคาดการได้เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

การทดลองกับ BINGO

"ผมทดลองเกี่ยวกับบิงโกครับ"

ทดลองมาได้ซักระยะนึงก็จะสังเกตุจากการที่เล่น

-เลขทุกตัวตั้งแต่ 1-75 มีเปอร์เซ็นในการออกที่เท่ากัน

-ในบางใบของ "BINGO" แต่เลขตัวนั้นก็จะไม่ค่อยออก

แต่บางใบไม่มีทีท่าว่าจะออก แต่สุดท้ายในรอบนั้น "BINGO" (เป็นบ่อยในแต่ละรอบ แต่ก็ไม่เป็นทุกรอบที่เล่น) จึงน่าจะเป็นไปได้ว่า น่าจะอยู่ที่จังหวะของเวลาด้วย

-ในกระดาษ"BINGO"ในแต่ละใบ และในการเล่นแต่ระรอบที่เล่นไป เบี้ยเปล่าจะถูกนำไปวางกับหมายเลขที่ออกในแต่ละใบ

-เมื่อเล่นจบเกมส์ในแต่ละรอบ จะเกิดช่องว่างที่ตัดกับตัวเบี้ยทำให้เกิดพื้นที่บางอย่าง

เมื่อจบรอบที่ได้เล่นแต่ละครั้ง จะเกิดช่องว่างที่ตัดกับตัวเบี้ย ไม่เหมือนกันเลยทุกครั้ง

(เหมือนตัวอย่าง ในบางชุดที่ทำการทดลองเอามาให้ดูครับ)

-มีจุดศูนย์กลางเป็นเบี้ยฟรี1ตัว

ผมสรุปได้จากการที่เล่น BINGO ว่า

1.เป็นเกมส์ที่ใช้พื้นที่ โดยมีกฏใหญ่ที่คอยคุมคือการ Random ตัวเลข

2.เวลาจะเป็นตัวช่วยของ Random

3.มีจุดศูนย์กลาง เป็นเบี้ยฟรี 1 ตัว คอยเชื่อมในเกมส์

4.เบี้ยจะกระจายไม่เต็มในในบิงโกของผู้เล่น ทำให้เกิดช่องว่างตัดกับตัวเบี้ย

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

Bingo

กติกาการเล่น


ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง จะต้องเป็น "ผู้ขานเบี้ย" ซึ่งจะเขย่าและประกาศ เมื่อเบี้ยในกล่อง (75 อัน)


ออกมาทีละอัน เช่นเบี้ยที่เขย่าออกมาเป็น 15 ผู้เล่นคนใดที่มีหลายเลขนี้ ในบัตร "BINGO" ของตน


จะหยิบเบี้ยเปล่าวางไว้ในช่องนั้น








จากนั้นก็จะเล่นต่อไปจนกว่าจะมีผู้เล่นคนใดคนหนึ่งวางในบัตรบิง "BINGO" ของตนเหมือนกับตัวอย่าง 6


ตัวอย่างนี้ อันใดอันหนึ่ง ผู้เล่นผู้นั้นจะประกาศว่า "BINGO" การเล่นในเกมส์นั้นจะจบลง








จากนั้นก็จะมีการนับคะแนน ตามที่ปรากฏในแถวนั้น โดยที่ "ผู้ประกาศเบี้ย" จะทำการตรวจสอบกับเบี้ยที่ ประกาศมาแล้ว ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าตรงกันผู้นั้นก็เป็นผู้ชนะ





FREE หมายถึง ช่องที่ผู่เล่นทุกคนมีสิทวางเบี้ยได้ทันทีที่เริ่มการแข่งขัน




ในกรณีที่ผู้เล่น ประกาศว่า บิงโก พร้อมกัน 2 คน "ผู้ประกาศเบี้ย" จะทำการตรวจเบี้ยและนับคะแนนมากที่สุด

จะเป็นผู้ชนะเลิศ