วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551
อัตราการเพิ่ม : ลดลงของทรัพยากร
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 16 จำนวนประชากรโลกมีเพียงแค่ร้อยล้านคนและเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ กระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เพิ่มเป็น 600 ล้านคน และภายในเวลาเพียง 130 ปี ก็เพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็น 2,000 ล้านคน และหลังจากนั้นอีกเพียง 70 ปี ก็เพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านคน การเพิ่มของประชากร จึงคล้ายระเบิดแตก มิใช่แบบทวีคูณ
นอกจากนี้ เรายังมีความเข้าใจผิด ในเรื่องเกี่ยวกับอัตราการเพิ่มของประชากร คือ
1.การเพิ่มเป็นไปอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ
2.การเกิดเหตุการณ์พิเศษ เช่น สงครามโลกหรือโรคระบาดจะทำให้จำนวนประชากรลดลง
3.การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากสุขภาพที่ดีขึ้น แต่ความจริงก็คือ
การคาดการณ์จำนวนประชากรโลกในอนาคตไว้ 3 ระดับ คือ
1.ระดับต่ำ ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.35 พันล้านคนในปี 2606 และจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 8 พันล้านคนในศตวรรษต่อไป
2.ระดับกลาง ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1 หมื่นล้านคนในปี 2602 และจะขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 10.48 พันล้าน ในปี 2625 และค่อยๆ ลดลงเหลือ 10.3 พันล้านเมื่อสิ้นคริสต์ ศตวรรษที่ 22
3.ระดับสูง ประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นเกิน 1 หมื่นล้านคน ในปี 2600 และเพิ่มขึ้นถึง 1.2 หมื่นล้านคน ในปี 2638 โดยประชากรส่วนใหญ่ของโลกถึงกว่า 3 ใน 4 อาศัยอยู่ในเพียง 2 ทวีป คือ เอเชียและแอฟริกา ระหว่างปี 2545-2593 นั้นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น 1 ใน 3 จะอยู่ในแอฟริกาและครึ่งหนึ่งจะอยู่ในเอเชีย แต่ละปีจำนวนประชากรของเอเชียและแอฟริกาเพิ่มขึ้น 49 และ 20 ล้านคนตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรชาวยุโรปลดลงปีละ 0.7 ล้านคน
ลดลงของทรัพยากร
จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นเป็นเงา ตามตัวเพื่อผลิตสิ่งต่างๆ สำหรับสนองความต้องการ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจยังผลให้เกิดภาวะขาดแคลน เช่น ในด้านของทรัพยากรดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับผลิตอาหารและการเพาะปลูกพืชอื่นๆ แม้ว่าโลกจะมีพื้นที่มากมาย แต่ก็อาจไม่เพียงพอเพราะปัจจัยหลายอย่าง โดยทั่วไปความเพียงพอของพื้นที่เพาะปลูกขึ้นอยู่กับ
1.ส่วนประกอบของอาหาร ที่รับประทาน
2.ความสามารถในการผลิตของดิน
3.ปริมาณน้ำที่สามารถหาได้
4.การใช้สารเคมีในการเพาะปลูก โลกมีทรัพยากรดินสำหรับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และเป็นผืนป่าเท่ากับ หรือร้อยละ 68 ของพื้นที่ทั้งหมดบนผืนโลก
วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551
คาดอีก 4 ปีพลเมืองโลก 7,000 ล้านคน

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551
การงดใช้พลังงาน
ความหนาของบรรยากาศเหลือเพียงน้อยนิด
จากการพัฒนาที่เกินความพอเพียง นั่นเป็นเพราะการที่เราใช้พลังงานมากเกินไป ทำให้มีการปล่อย กีาซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศบางๆ จึงเกิดสภาวะเรือนกระจก
โดยความร้อนที่เกิดจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากขึ้นส่งผลให้สภาพดินฟ้าอากาศของโลก
เปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป
เพื่อช่วยเหลือส่วนรวมในสังคม แต่อุปสรรคอยู่ที่ว่าเราต้องต่อสู้เอาชนะกับความเคยชินของเราเท่านั้นเอง
เรื่องเหล่านี้จึงเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจ คือ ปฏิทิน การที่จะทำปฏิทินย้อนหลังนั้นมัน
ยาก “ผมจึงเลือก ทำบางอย่างที่เหมาะสม แต่ยังเกี่ยวกับเรื่องของปฏิทิน โดยเลือกที่จะทำ
Diary ที่ปลูกจิตสำนึก
เอาเป็นว่าองค์ประกอบของปฏิทินองประกอบของมันก็มีให้เห็น คาตาอยู่แล้ว
ว่ากำหนดวันต่างๆ ในรอบ1เดือนก็จะเห็นได้ว่าปฏิทิน มีการบ่งบอกวันพิเศษวันหยุดเสาร์อาทิตย์ บอกวันหยุดราชการ แล้วถ้าอันไหนที่ดูเป็น Inter หน่อยก็บอกถึงวันที่ หรือวันที่พิเศษของต่างปรัเทศด้วย
องค์ประกอบของ Diary ก็จะมี
ปฏิทิน ในเดือนนั้น ข้างขึ้นข้างแรมเวลาในแต่ละวันเพื่อจดบันทึกใน Diary
บ่งบอกปี
เริ่มตั้งแต่เวลา 7.00___8.00___ 9.00___10.00___11.00___12.00............ไปจนถึงเวลา18.00น.
สรุป ทั้ง 2 อย่างที่องค์ประกอบที่เหมือนกัน แต่ที่แตกต่างกันคือ Diary เพราะว่าจะเพิ่มเวลา ตารางในการจดบันทึกในแต่ละวันเข้าไปนั่นเอง
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551
calendar
ลองมาดูประโยชน์ของมันว่ามีอะไรบ้างครับ
-แน่นอนครับไว้ดูวันเดือนปี
-หาวันพิเศษสำหรับใครบางคน
-บอกวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ หรือ เสาร์/อาทิตย์
-บอกวันและเดือนของปีนั้นๆ
-สามารถกำหนดวันนัดหมายล่วงหน้าได้
เห็นแล้วมันช่างมีประโยชน์มากมายขนาดไหนครับ และยังมีรูปแบบของปฎิทินที่หลากหลายสามารถพกติดตัวได้ในรูปแบบการ์ดก็มี
แต่ลองมองในมุมมืดของมันดูบ้างครับ
เมื่อหมดปีต่อปีมันจะหมดอายุการใช้งานทันที ไม่สารถนำมันมาติดตัวข้ามปีได้เพราะเราจะต้องมองหาปฏิทินของปีใหม่นี้โดยธรรมชาติ มันจะแปลสภาพเป็นขยะทันที และยังมีปฏิทินที่มีลักษณะต่างกันไป ยกตัวอย่าง ปฏิทินของจีนที่การใช้สอยออกแบบมาให้มีลักษณะใช้งานโดยการฉีกเมื่อวันต่อวัน สิ้นเปลืองกระดาษมาก ลองนึกย้อนหลังไป 10 ปี ครับ ว่าขยะจากปฏิทินจะมากขนาดไหนแล้วจะเป็นยังไงในอีก 10 ปีข้างหน้า
สุดท้ายครับ
จริงๆแล้วเรื่องของปฏิทินมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆเลยครับ แต่เราไม่เคยหันกลับมามองมันเลยว่า จริงแล้วก็เป็นเรื่องใหญ่อยู่เหมือนกัน
โครงการครั้งนี้ผม ก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นยังไงต่อไป แต่ก็จะทำอะไรที่เป็นประโยชน์แน่นอนครับ